ทำความรู้จักเรื่องภาษีป้าย
ภาษีป้ายต้องจ่ายหรือไม่ ป้ายแบบไหนต้องเสียภาษี
ในปัจจุบัน ป้ายต่าง ๆ ไม่ได้เป็นเพียงแค่สัญลักษณ์ของการโฆษณาเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความน่าสนใจและดึงดูดลูกค้าให้กับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นป้ายไฟที่สว่างไสวในเวลากลางคืน หรือป้ายไม่มีไฟที่ออกแบบให้ดูเรียบง่ายและมีความคลาสสิค รวมไปถึงป้ายที่มีรูปภาพหรืออักษร ซึ่งแต่ละประเภทต่างมีคุณสมบัติและลักษณะที่แตกต่างกันไป
ก่อนที่เราจะตัดสินใจสั่งทำป้ายเพื่อโปรโมทธุรกิจ เราควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีป้ายในแต่ละประเภทให้ชัดเจน เพื่อให้เราสามารถวางแผนด้านงบประมาณได้อย่างถูกต้องและไม่เกิดปัญหาภายหลัง การจัดแบ่งประเภทของป้ายตามภาษีมีดังนี้
ภาษีป้าย คือ ภาษีที่จัดเก็บจากการแสดงป้ายที่มีข้อความ รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ บนวัตถุใด ๆ ซึ่งนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการโฆษณาหรือการหารายได้ การจัดเก็บภาษีป้ายมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะและการพัฒนาสาธารณูปโภค รวมถึงสร้างความเป็นระเบียบในพื้นที่ที่มีการติดตั้งป้ายจำนวนมาก
ประเภทของป้ายที่ต้องเสียภาษี
- ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมาย
ป้ายประเภทนี้รวมถึงการแสดงชื่อป้ายบริษัท ป้ายร้านค้า ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ และการแสดงเครื่องหมายการค้าหรือโลโก้ที่เป็นตัวแทนของแบรนด์หรือองค์กร - ป้ายเพื่อหารายได้หรือการโฆษณา
ป้ายโฆษณาที่มีการใช้ตัวอักษร รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งที่เขียน แกะสลัก หรือจารึกลงบนวัตถุต่าง ๆ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อโปรโมทสินค้า บริการ หรือกิจกรรมทางธุรกิจ
เหตุผลและความสำคัญของการจัดเก็บภาษีป้าย
- สร้างรายได้ให้กับรัฐ : รายได้จากภาษีป้ายนำมาใช้ในการพัฒนาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชุมชน
- ควบคุมการใช้พื้นที่ : การกำหนดเกณฑ์การติดตั้งและจัดเก็บภาษีช่วยให้การใช้พื้นที่ในพื้นที่สาธารณะเป็นไปอย่างมีระเบียบ ลดผลกระทบด้านความสวยงามและความปลอดภัยของสภาพแวดล้อม
- ความเสมอภาคในธุรกิจ : การเก็บภาษีป้ายในทุกประเภทที่มีการใช้เพื่อโฆษณาหรือหารายได้ ช่วยให้มีความเท่าเทียมในการแข่งขันทางธุรกิจและลดการใช้วิธีการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
การปฏิบัติตามข้อกำหนดของภาษีป้ายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจและองค์กรทุกแห่ง เพื่อป้องกันการปรับหรือโทษตามกฎหมาย ควรมีการตรวจสอบและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมายและสร้างความโปร่งใสในการบริหารจัดการทางธุรกิจ
ป้ายที่ยกเว้นภาษีป้าย
- ป้ายที่ติดในอาคาร
- ป้ายของทางราชการ
- ป้ายตามงานอีเวนท์ที่จัดเป็นครั้งคราว
- ป้ายของโรงเรียนทั้งรัฐและเอกชน
- ป้ายวัด สมาคม มูลนิธิ
ป้ายที่ต้องเสียภาษี
- ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย
- ป้ายเพื่อหารายได้ เช่น ป้ายโฆษณาต่างๆ ด้วยอักษร ภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก
ป้ายที่ยกเว้นภาษี
- ป้ายที่ติดในอาคาร
- ป้ายของทางราชการ
- ป้ายตามงานอีเวนท์ที่จัดเป็นครั้งคราว
- ป้ายของโรงเรียนทั้งรัฐและเอกชน
- ป้ายวัด สมาคม มูลนิธิ
อัตราภาษีป้าย ประจำปี 2567
ป้ายประเภท 1 (ก) อักษรไทยล้วน ที่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนข้อความได้ (ป้ายไฟวิ่ง) อัตรา 10 บาท/500 ตร.ซม.
(ข) อักษรไทยล้วน (ป้ายติดทั่วไป) อัตรา 5 บาท/500 ตร.ซม.
ป้ายประเภท 2 (ก) อักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ และหรือปนรูปภาพ และหรือปนเครื่องหมายอื่น อัตรา 52 บาท/500 ตร.ซม. ที่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ (ป้ายไฟวิ่ง)
(ข) อักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ และหรือปนรูปภาพ และหรือปนเครื่องหมายอื่น อัตรา 26 บาท/500 ตร.ซม. (ป้ายติดทั่วไป)
ป้ายประเภท 3 (ก) ป้ายไม่มีอักษรภาษาไทย และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ ที่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ (ป้ายไฟวิ่ง) อัตรา 52 บาท/500 ตร.ซม.
(ข) ป้ายไม่มีอักษรภาษาไทย และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ (ป้ายติดทั่วไป) อัตรา 50 บาท/500 ตร.ซม.
ป้ายประเภท 4 ป้ายใดเมื่อคำนวณแล้ว จำนวนเงินต่ำกว่า 200 บาท ให้เสีย 200 บาท
ขั้นตอนการยื่นเสียภาษี
ให้ผู้มีหน้าที่ภาษีป้ายสามารถขอรับแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ได้ที่ฝ่ายรายได้ สำนักงานเขต โดยกรอกรายการในแบบ ภ.ป.๑ ตามความเป็นจริงให้ครบถ้วน ลงลายมือชื่อของตนพร้อมวัน เดือน ปี ส่งคืนพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ป้ายนั้นได้ติดตั้ง หรือแสดงไว้ ทั้งนี้จะนำส่งด้วยตนเอง มอบหมายให้ผู้อื่นไปส่งแทนหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้
- ขอรับแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1)
- กรอกรายการในแบบ ภ.ป.1 ตามความเป็นจริงให้ครบถ้วน
- ลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี ส่งคืนพนักงานเจ้าหน้าที่
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการยื่นแบบ
กรณีป้ายใหม่ ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษี พร้อมสำเนาหลักฐาน และลงลายมือชื่อรับรอง ความถูกต้อง ได้แก่
- บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน
- ใบทะเบียนการค้า ทะเบียนพาณิชย์
- ใบอนุญาตติดตั้งป้าย หรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย (ถ้ามี)
- หนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)
- ใบมอบอำนาจกรณีให้ผู้อื่นทำการแทน
- อื่น ๆ
ขั้นตอนการยื่นแบบชำระภาษีป้าย
1. การยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีป้าย (ภ.ป.1)
ผู้มีหน้าที่ที่ต้องเสียภาษีป้าย ต้องมากรอกแบบแสดงรายการเสียภาษีต่อเจ้าพนักงานประเมิน ณ ฝ่ายรายได้ สำนักงานเขตที่ที่ป้ายตั้งอยู่ โดยจะต้องยื่นแบบเพิ่มขอประเมินภาษีภายในเดือนมีนาคม ของทุกปีหรือแสดงรายการภายใน 15 วันนับแต่วันติดตั้งป้าย
2. การตรวจสอบ และรับแบบยื่น (ภ.ป.1)
เจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานเขตรับแบบยื่น (ภ.ป.1) จากประชาชนทำการตรวจสอบหลักฐานทั้งหมด
3. การแจ้งประเมินภาษีเมื่อเจ้าหน้าที่ดำเนินการ 2 กรณี ดังนี้
3.1 กรณีชำระภาษีป้ายในวันยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย
3.2 ไม่ชำระในวันยื่นแบบพนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งประเมิน ภ.ป.๓
4. การชำระเงินค่าภาษีสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
4.1 การชำระค่าภาษีทั้งหมดภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องชำระภายใน 15 วันนับแต่วันรับหนังสือแจ้งการประเมิน ต้องมาชำระเงินที่ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต หรือชำระที่กองการเงิน ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) โดยสามารถชำระเงินค่าภาษีทั้งหมดด้วยเงินสด เช็ค หรือธนาณัติโดยวันที่จ่ายเช็ค วันที่โอนเงินทางธนาณัติจะถือเป็นวันชำระเงินโดยไม่มีการคิดค่าเพิ่ม
4.2 การชำระค่าภาษีผ่านธนาคารกรุงไทย ขั้นตอนกรณีชำระที่ธนาคารกรุงไทย
- เจ้าพนักงานแจ้งประเมินค่าภาษีและออกใบแจ้งหนี้ให้ผู้เสียภาษี
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีรับใบแจ้งหนี้ค่าภาษี
- นำใบแจ้งหนี้ค่าภาษีไปติดต่อชำระเงินที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ รอรับใบเสร็จเก็บไว้เป็นหลักฐาน
4.3 การชำระภาษีผ่านตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย
4.4 การชำระภาษีผ่านทาง Internet
- สมัคร KTB Online กรณีบุคคลธรรมดา และ KTB Corporate Online กรณีนิติบุคคลที่ www.ktb.co.th
- ลงทะเบียนใช้บริการกรุงเทพมหานครที่ http://epay.bangkok.go.th เพื่อขอ Username และ Password
- เลือกชำระเงินผ่านธนาคารกรุงไทยออนไลน์ และใส่ Username / Password ของธนาคารกรุงไทยที่สมัครไว้ แล้วเลือกบัญชีที่ประสงค์จะให้หักเงิน
หมายเหตุ : เฉพาะการชำระภาษีประจำปีภายในกำหนดเวลา/ธนาคารคิดค่าธรรมเนียมการชำระภาษีรายการละ 10 บาท
ข้อกฎหมายและบทลงโทษ
- หากผู้ประกอบการจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย จะมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท
- ถ้าผู้ประกอบการจงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษี จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
- ผู้ใดไม่แจ้งรับโอนป้าย หรือไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบกิจการ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท ระยะเวลาการให้บริการโดยประมาณ 10 นาที ต่อรายไม่รวมขั้นตอนการตรวจสอบสวน (ถ้ามี)
ที่มา : สำนักงานเขตดินแดง / กรมสรรพากร / กระทรวงมหาดไทย โดยงานประชาสัมพันธ์
ยินดีให้คำปรึกษา ฟรี!
เพียงคลิกที่ปุ่ม "add friend" ด้านล่างนี้
สอบถามเพิ่มเติมโทร 094-851-4884 / 094-813-8484